Video Conference เครื่องมือที่ช่วยให้การประชุมหรือการสื่อสารทางไกลเป็นเรื่องง่ายขึ้น

Video Conference (วีดีโอคอนเฟอเรนซ์) คืออะไร ? การสื่อสารที่ทุกองค์กรเลือกใช้งาน

VIDEO CONFERENCE (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) หรือ การประชุมทางไกลผ่าน VIDEO คือ การสื่อสารผ่านวิดีโอที่ช่วยให้ฝ่ายต่างๆ สองฝ่ายหรือมากกว่าสามารถพบปะกันแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่แม้ผู้ร่วมประชุมซึ่งอยู่ต่างสถานที่กัน

          การติดต่อสื่อสารต่างๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างล้ำหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆที่ ทันสมัยรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจประเภทต่างๆได้ และการติดต่อสื่อสารประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมก็คือ การประชุมทางไกล (Video Conference) ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การประชุมหรือการสื่อสารทางไกลเป็นเรื่องง่ายขึ้น อยู่ที่ไหนก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ตอบโจทย์โลกไร้พรมแดน โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่จัดการประชุมทางไกล ช่วยอำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยเดสก์ท็อปหรืออุปกรณ์พกาผ่านซอฟต์แวร์การประชุมทางวิดีโอ ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการประชุมทางไกล การเรียนรู้ออนไลน์ และการสตรีมแบบสด โดยซอฟต์แวร์การประชุมทางวิดีโอสามารถเข้าถึงได้ทั้งผ่านแอปการประชุมทางวิดีโอหรือเว็บเบราว์เซอร์
          โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่การระบาดของ COVID-19 ยังไม่สิ้นสุด การทำงานทางไกลได้กลายเป็นวิถีการทำงานใหม่ของหลาย ๆ บริษัท และบริษัทต่าง ๆ ก็ต้องมองหาเทคโนโลยีการประชุมทางวิดีโอเพื่อรักษาการดำเนินธุรกิจนอกเหนือจากการใช้สำหรับการประชุมภายในองค์กรแล้ว การประชุมทางวิดีโอยังถูกนำมาใช้ในการสัมภาษณ์ผู้สมัครงานแทนการสัมภาษณ์ในสถานที่อีกด้วย และเพื่อการพัฒนาองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ให้เข้มแข็งก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว การประชุมทางวิดีโอจึงยังคงเป็นวิธีการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับธุรกิจยุคใหม่ต่อไป
          ดังนั้นในวันนี้เรามาทำความรู้จักไปด้วยกันว่า Video Conference คืออะไร มีการใช้งานอย่างไร และทำไมถึงการสื่อสารที่ทุกองค์กรเลือกใช้งาน

 

Video Conference คือ

          วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือ การประชุมทางไกลผ่าน VIDEO คือ การสื่อสารผ่านวิดีโอที่ช่วยให้ฝ่ายต่างๆ สองฝ่ายหรือมากกว่าสามารถพบปะกันแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่แม้ผู้ร่วมประชุมซึ่งอยู่ต่างสถานที่กันสามารถทำการประชุมร่วมกันได้โดยให้ความรู้สึกเหมือนกับนั่งประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน โดยทั้งภาพและเสียงนั้น จะส่งผ่านระบบการสื่อสารทางคมนาคมรูปแบบต่างๆ สามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพเสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณ ลักษณะคือเป็นการโต้ตอบระหว่างกันเพื่อเป็นตัวเชื่อมในการใช้รับส่งข้อมูลภาพและเสียง ระหว่างจุดต่อจุด หรือจุดต่อหลายๆ จุด ผ่านระบบสื่อสาร IP (ไอพี) หรือ ISDN (ไอเอสดีเอ็น) ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ นิยมใช้ประชุมกันในองค์กรหรือธุรกิจเนื่องจากช่วยลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ ทำให้มีความสะดวก สบายมากยิ่งขึ้น

 

ความเป็นมาของวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

          การพัฒนาครั้งแรกในการประชุมผ่านทางวิดีโอ เริ่มจากการคิดค้นของ AT&T Bell Labs และ John Logie Baird ในปี พ.ศ.2463 โดยเทคโนโลยียุคแรกนี้คือโทรศัพท์รูปภาพ (Picture Telephone) เป็นการส่งภาพนิ่ง ผ่านทางสายโทรศัพท์ ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ.1970 หรือประมาณปี พ.ศ.2513 AT&T เริ่มใช้การประชุมทางวิดีโอกับบริการ Picturephone แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การประชุมทางวิดีโอเพิ่งเริ่มแพร่หลายขึ้นในช่วงทศวรรษ ค.ศ.1980 หรือตรงกับ พ.ศ.2523 เป็นช่วงของการปฏิวัติทางคอมพิวเตอร์ ได้ทำให้เกิดการประดิษฐ์ตัวแปลงสัญญาณรวมไปถึงได้มีการเพิ่มขึ้นของบริการบรอดแบนด์ เช่น Integrated Services Digital Network ทำให้สามารถส่งภาพที่มองเห็นได้เพื่อการใช้งานส่วนบุคคล และการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือในภายหลังก็ทำให้ความนิยมของการประชุมทางวิดีโอเพิ่มมากขึ้น

          เว็บแคม เริ่มปรากฏให้เห็นในปี พ.ศ.2523 และต่อมาในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ.2537 ได้มีการเปิดตัว QuickCam ซึ่งเป็นเว็บแคมเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก แต่ยังใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์ Mac เท่านั้น ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นที่เข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการ Windows และเปิดตัวในปี พ.ศ.2538 ต่อมาในปี พ.ศ.2553 ทางด้านนิตยสาร Time ได้ยกให้ QuickCam เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ดีอันดับต้น ๆ ตลอดกาล

          ในปี พ.ศ.2535 บุคลากรแผนกไอทีของมหาวิทยาลัย Cornell ได้พัฒนาซอฟต์แวร์การประชุมทางวิดีโอ CU-SeeMe สำหรับคอมพิวเตอร์ Mac และพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ในปี พ.ศ.2537 ซอฟต์แวร์ CU-SeeMe ได้เปิดตัวใช้งานในเชิงพาณิชย์

          ในปี พ.ศ.2538 จนถึงในปี พ.ศ.2547 ธุรกิจจำนวนมากเริ่มนำระบบการประชุมทางวิดีโอมาใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้เครื่อข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลหรือไอเอสดีเอ็น (Integrated Services Digital Network, ISDN), เครือข่าย Over Internet Protocol (IP) หรือที่เรียกว่า (IP Network), เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรหรือแลน (Local Area Network, LAN) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวเชื่อม จึงเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

การพัฒนาครั้งแรกในการประชุมผ่านทางวิดีโอ

วัตถุประสงค์ของวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

          วิดีโอคอนเฟอเรนซ์หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่มคน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่ สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์โทรทัศน์ หรือโทรศัพท์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนหน้าจอภาพของตนเอง และภาพของตนเองก็จะไปปรากฏยังจอภาพของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน โดยคุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ และคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร

 

ลักษณะการใช้งานของวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

          คุณคงสงสัยใช่ไหมว่าทำไมองค์กรต่างๆ ถึงเลือกใช้ประชุมทางไกลผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ทั้งๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการซื้ออุปกรณ์ มากกว่าประชุมทางไกลผ่าน Line หรือ Google Hangout ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลย 

          หากมีการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนน้อยเพียงแค่ 3-5 คน เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการประชุมผ่าน Line หรือ Google Hangout นั้นดีกว่า แต่ถ้าเป็นการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนมากถึง 10-15 คนขึ้นไป โดยเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก การเลือกใช้ Video Conference นั้นถือว่าดีกว่าอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องของเสียง เนื่องจากตัววิดีโอคอนเฟอเรนซ์นั้นมี Microphone ที่สามารถควบคุมเสียงได้ เลือกที่จะรับฟังเสียงใคร หรือ ตัดเสียงใครออกก็ได้ ช่วยลดเสียงรบกวนต่างๆ ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          นอกจากนั้นระบบ Video Conference จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียนการสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมกันเสมือนอยู่ในห้องเดียวกัน สามารถ Share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน พร้อมทั้งเสนอผ่านความเห็นต่างๆได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้น ทำให้งานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

 

วิธีการทำงานของ Video Conference 

          วิดีโอคอนเฟอเรนซ์มีการทำงานโดยใช้ Codec เป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียง ที่ได้รับจากไมโครโฟนและกล้อง ส่งผ่านเส้นทางการสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงการถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาจากอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอภาพและลำโพง โดยเส้นทางสื่อสารในคุณภาพที่สามารถยอมรับได้ ก็คือ เส้นทางการสื่อสารขนาด 384 Kbps ซึ่งอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น 

          Codec จึงถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ และถือเป็นหัวใจหลักในการทำงานของระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

          Codec เป็นคำย่อมาจาก Code และ Decode คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสจากข้อมูลภาพที่มีจำนวนเส้น 625 เส้น 25 เฟรมต่อวินาที (กรณีสัญญาณ PAL ) เมื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วจะต้องเปลี่ยนกลับเป็น Pixel หรือจุดสี  ตามมาตรฐาน CCITT H.261 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญที่กำหนดในเรื่องการเข้ารหัส กำหนดจำนวนเส้นใช้เพียง 288 เส้น แต่ละเส้นมีความละเอียด 352 pixel นั่นหมายถึงจะมีความละเอียดเท่ากับ 352×288 pixel เรียกฟอร์แมต การแสดงผลนี้ว่า Common Intermediate format และยังยอมให้ใช้ความละเอียดแบบหนึ่งในสี่ คือลดจำนวนเส้นเหลือ 144 เส้น และ pixel หรือ 176 pixel ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ ถ้าใช้จอภาพขนาดเล็ก จำนวน pixel ก็ลดลงไปได้

 

อุปกรณ์ในระบบ Video Conference

อุปกรณ์ในระบบ Video Conference

  • Codec
    โคเด็ก (CODEC) ย่อมาจาก Code (โค้ด) และ Decode (ดีโค้ด) เป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลที่ได้จากกล้อง คอมพิวเตอร์และไมโครโฟน สำหรับส่งผ่านการสื่อสารไปยังอีกฝั่ง นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับจากอีกฝั่งด้วย ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลการแสดงผลบนหน้าจอ หลักการทำงานของ CODEC คือ แปลงสัญญาณทั้งเสียงและภาพให้เป็นสัญญาณดิจิทัล จากนั้นทำการบีบสัญญาณให้เล็กลง เพื่อให้ Bandwidth น้อยแต่ยังได้คุณภาพสูง
  • Camera
    กล้อง (Camera) ใช้จับภาพของผู้ที่เข้าร่วมการประชุม กล้องที่ใช้ควรมีคุณภาพความคมชัดสูงในระดับ HD มีระบบเซอร์โวสำหรับควบคุมจากระยะไกล เพื่อปรับมุมเงย ก้ม ด้านขวา ซ้าย และซูมได้ ปกติแล้ว Camera จะมาพร้อมชุดอุปกรณ์  CODEC หรือในบางครั้งกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ อาจจะใช้กล้องเสริม เช่น กล้อง Mini-DV
  • Microphone
    ไมโครโฟน (Microphone) มีหน้าที่รับเสียงจากผู้ประชุม จากนั้นจะส่งไปยังระบบเสียงปลายทาง
  • Monitor
    จอเมอนิเตอร์ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงภาพผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งระบบ ทั้งต้นทางและปลายทาง
  • Remote Control
    รีโมทคอนโทรล (Remote Control) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน เสียง ภาพ และเลือกสัญญาณเข้าต่างๆ จากแหล่งต่างๆ ไปยังระบบปลายทาง หรือเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมระบบนั่นเอง

 

โปรแกรมที่นำมาประยุกต์ใช้กับ Video Conference

โปรแกรมที่นำมาประยุกต์ใช้

          ปัจจุบันการประชุมทางไกล เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น จึงมีการพัฒนาการประชุมส่วนบุคคล หรือ Software Conference (ซอร์ฟแวร์ คอนเฟอร์เรนซ์) ขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการประชุมทางไกลเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่าง Software Conference ที่นิยมใช้กันเช่น   

  • Skype (สไกป์) เป็นโปรแกรมแซทผ่านกล้องเว็บ แคมพร้อมคุยผ่านไมค์กับเพื่อน ๆ ที่ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลกก็สามารถคุยกันได้แบบฟรี ๆ โปรแกรมใช้ระบบการทำงานแบบ P2P (พีทูพี) ทำให้เราสามารถคุยไปพร้อม ๆ กับมีการแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ สำหรับเวอร์ชั่นใหม่ก็มีการพัฒนาในส่วนของ Group Chat (กรุ๊ป แชท) ที่จะทำให้เราสามารถคุยกับเพื่อน ๆ ได้เป็นกลุ่ม ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประชุมออนไลน์ได้อย่างลงตัว
  • Zoom (ซูม) เป็นบริการสำหรับการประชุมโดยเฉพาะ สามารถสร้างการประชุมแบบเสียงหรือวิดีโอได้ในความละเอียดระดับ HD รองรับการแชร์หน้าจอหลายจอพร้อมกัน มีระบบสลับภาพไปหาผู้พูดอัตโนมัติ รองรับการบันทึกการสนทนาเป็นวิดีโอ จุดเด่นคือผู้ร่วมประชุมสามารถเข้าร่วมประชุมได้ทันทีโดยไม่ต้องมีบัญชีของ Zoom
  • Google Meet เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ Google โดยเป็นแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ ที่เอาใช้สำหรับติดต่อพูดคุยกันผ่านวิดีโอคอล เพื่อใช้ประชุมออนไลน์ หรือ นัดประชุมผ่านออนไลน์ ซึ่งรองรับผู้เข้าร่วมได้สูงสุด 100 คน และใช้งานได้นานถึง 60 นาทีต่อครั้ง ขณะที่ผู้ใช้งานระดับองค์กร หรือ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถยกระดับขึ้นไปรองรับการร่วมประชุมได้สูงสุดถึง 250 คน พร้อมสามารถรองรับการ Live Stream ออนไลน์ได้ถึง 100,000 คนดูเลยทีเดียว รวมถึงสามารถใช้งานได้ไม่จำกัดเวลา
  • Microsoft Teams เป็นซอฟต์แวร์ เพื่อการสื่อสาร ประชุม พูดคุย ติดต่อกัน โดยเป็นซอฟต์แวร์ในชุด Microsoft 365 สำหรับการประชุมออนไลน์ โดยในยุคปัจจุบัน เราใช้งาน Microsoft Teams ในการเรียนการสอน สามารถแชร์สกรีน เปิดไมค์โครโฟน เปิดกล้อง กำหนดค่า ตั้งสิทธิ์ในการใช้งานกันได้ เหมาะสำหรับการเรียนการสอนในยุค New Normal ที่อาจจะต้องรักษาระยะห่างกัน และยังสามารถใช้ได้ทั้ง Desktop, Mobile หรือ Tablet ได้อีกด้วย

 

ข้อดี ของวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

  • ประชุมได้ทุกที่ ทุกเวลา 
  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุมหรืออบรม
  • สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว สามารถประชุมเรื่องเร่งด่วนได้
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถร่วมเรียนด้วยได้
  • สามารถลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางได้

ข้อเสีย ของวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

  • ราคาของอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
  • การพูดคุยติดต่อสื่อสารกันผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ อาจทำให้ปฏิสัมพันธ์ที่น้อยลง
  • สามารถที่จะเกิดปัญหาทางเทคนิค ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และเครือข่าย ถือเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารได้

 

          ทีนี้หลายๆ คนคงเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า วิดีโอคอนเฟอเรนซ์คืออะไร ทำงานอย่างไร และทำไมถึงเป็นการสื่อสารที่ทุกองค์กรเลือกใช้งาน แต่เพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพในวงกว้าง และมีความเข้าใจมากขึ้น เราจึงสามารถนิยามได้ว่าเพราะการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน คือ การสื่อสารที่ไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน การประชุมก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป วิดีโอคอนเฟอเรนซ์จะเป็นตัวช่วยให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น และทำให้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย 

          และหากคุณกำลังหาอุปกณ์ในระบบ Video Conference ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเชื่อมต่อได้อย่างเสถียร ทำให้คุณสามารถประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้อย่างไม่ติดขัด คุณสามารถติดต่อสอบถาม หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่คุณต้องการได้ที่

บริษัท ซัคเซส เน็ตเวิรค แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

โทร : 02-973-1966

Admin : 063-239-3569

Email : info@success-network.co.th

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *