VolP

VolP คืออะไร ทำความรู้จักเทคโนโลยีการสื่อสารที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งาน

          ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารนั้นมีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการขยายตัวของระบบเครือขายสัญญาณข้อมูล หรือ Data Network ทําให้การขยายตัวของระบบเครือขายสัญญาณข้อมูล มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วกว่าการขยายตัวของเครือขายสัญญาณเสียงค่อนข้างมาก จึงได้มีการนําเทคโนโลยีที่สามารถนําสัญญาณเสียงมารวมกันอยู่บนระบบเครือข่ายของสัญญาณข้อมูล เพื่อให้มีความสะดวกและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นลักษณะการรวมบริการหลายๆ อย่างไว้ในโครงข่ายเดียวกัน โดยให้บริการได้ทั้งสัญญาณเสียง ข้อมูล และภาพ ภายใต้โครงขายแบบแพ็คเกจ 

          และด้วยพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศที่ไม่หยุดนิ่ง ทําให้ในโลกปัจจุบันมีบริการมากมายให้ได้เลือกใช้ได้อย่างที่ต้องการ และหนึ่งในเทคโนโลยีการสือสารใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน นั้นก็คือ บริการโทรศัพท์ผ่านระบบ Internet ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ “Voice over IP (VoIP)” นั้นเอง 

          ในวันนี้บทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้กันกันให้มากยิ่งขึ้น กับ “Voice over IP (VoIP)” เทคโลโนยีการสือสารที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในยุคปัจจุบัน

 

VoIP คืออะไร ?

          คำว่า VoIP ย่อมาจาก Voice over IP เป็น ระบบการโทรผ่านอินเทอร์เน็ต หรือก็คือเป็นการประยุกต์ระบบอินเทอร์เน็ตเอามาใช้เป็นสื่อกลางสำหรับการสื่อสารในรูปแบบเสียง ให้คุณสามารถโทรออกและพูดคุยกันบนสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ เป็นระบบที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล เป็นการนําขอมูลเสียงมาบีบอัดและบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ต ไอพี (IP) แล้วส่งไปโดยมีเราเตอร์ (Router) ที่เป็นตัวรับสัญญาณแพ็กเก็ต และแก้ปัญหาบางอย่างให้เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลงการแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหาย หรือได้มาล่าช้า นอกจากนั้น Voice over IP (VoIP) ยังเป็นการส่งข้อมูลเสียงแบบ 2 ทางบนระบบเครือข่ายแบบ Packet-Switched IP Network ซึ่งขอมูลนี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสาธารณะ เพื่อสื่อสารระหว่าง VoIP ด้วยกัน โดยที่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้

          แต่เดิมระบบการโทรที่เราใช้เป็นระบบเครือข่ายโทรศัพท์สวิตซ์สาธารณะ หรือ Public Switched Telephone Network (PSTN) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเวลาโทรทุกครั้ง ยิ่งเวลาโทรทางไกล ก็จะยิ่งมีต้นทุนที่สูง และถึงแม้ปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนมาใช้มือถือกันมากขึ้น แต่ก็แค่เป็นการเพิ่มความสะดวก ต้นทุนในการใช้งานก็ยังมีอยู่

          ในขณะที่การใช้ VoIP เหมือนทำให้เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน สามารถใช้การโทรคุยผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย และด้วยความที่ทั่วโลกมีอินเทอร์เน็ตใช้งานอย่างแพร่หลายกันอยู่แล้ว ก็ทำให้ VoIP จึงสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นระบบการสื่อสารที่ใคร ๆ ก็นิยมเพราะช่วยประหยัดได้มากขึ้น

Voice over Internet Protocol

ประวัติของ VoIP

          ต้นกำเนิดของ VoIP ต้องย้อนไปถึงปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) Vocaltec Internet Phone ซอฟต์แวร์ตัวแรกของโลกที่มีระบบ VoIP ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย Alan Cohen และ Lior Haramaty ผู้ก่อตั้งบริษัท Vocaltec สัญชาติอิสราเอล ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม

          VoIP เป็นซอฟต์แวร์ที่เกิดจากแนวคิด ที่ต้องการลดต้นทุนการใช้ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมเพื่อติดต่อทางไกล พวกเขาได้พัฒนาตัวรับส่งและแปลงเสียงเป็นข้อมูลดิจิทัล (Audio Transceiver) ออกมาได้ ทำให้สามารถใช้ระบบสื่อสารด้วยเสียงบนเครือข่ายของอินเทอร์เน็ต ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าวถูกวางขายในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) โดยมีฟีเจอร์ที่เรียบง่ายคือ ให้คุณสามารถโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้ ไมโครโฟน และ ลำโพงจากคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามเงื่อนไขคือ ผู้ใช้งานทั้งสองฝั่งต้องโทรผ่านซอฟต์แวร์ Vocaltec Internet Phone เหมือนกันถึงจะสามารถโทรติด จากนั้นในปีต่อ ๆ มา Vocaltec ก็ค่อย ๆ พัฒนาระบบที่ทำให้สามารถโทรแบบ VoIP จากคอมพิวเตอร์ สู่  โทรศัพท์ หรือ จากโทรศัพท์ สู่ โทรศัพท์ได้ โดยออกแบบอุปกรณ์อะแดปเตอร์ (Adaptor) เพื่อเชื่อมต่อโทรศัพท์และใช้แปลงสัญญาณ

          หลังจาก VoIP ปรากฏตัวขึ้นในอุตสาหกรรม ก็ถือเป็นการจุดประกายสารสือสารแบบใหม่ๆขึ้นมา ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์และเครือขา่ยโทรคมนาคม พยายามทำตามและพัฒนาทั้งคุณภาพ และ ต้นทุน ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวกับระบบ VoIP ถูกวางจำหน่ายเข้าสู่ตลาดมากขึ้น เช่น เครื่องแปลงสัญญาณ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Analog Telephone Adapter (ATA) และ โทรศัพท์บ้านที่ใช้ VoIP ได้แบบ built-in เรียกว่า IP Phone ในปัจจุบันการพัฒนาของระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็ว และ แรงมากขึ้น ก็เปรียบเสมือนตัวเร่งประสิทธิภาพ VoIP ยิ่งการส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตมีเสถียรภาพมากเท่าไหร่ VoIP ก็ยกระดับคุณภาพตามได้อย่างก้าวกระโดด โดยระบบ VoIP ได้กลายเป็นระบบสื่อสารพื้นฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะภายในองค์กรธุรกิจสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เพราะมีการนำมาใช้เป็นระบบโทรศัพท์ของสำนักงานด้วยเพื่อติดต่อสื่อสารภายในองค์กร และ นอกองค์กรได้แบบประหยัดต้นทุน

 

เทคโนโลยีและการทํางานของ VoIP

          เทคโนโลยี VoIP นั้น มีการทํางานในรูปแบบของโปรโตคอล IP ซึ่งมีมาตรฐานการใช้งาน โดยทั่วไป 2 มาตรฐาน ได้แก้ มาตรฐาน H.323 และมาตรฐาน SIP มาตรฐานทั้ง

          สองรูปแบบนี้ สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “Call Control Technologies” ซึ่งถือว่าเป็นส่วนประกอบสําคัญสําหรับการนําเทคโนโลยี VoIP มาใช้งาน

  • มาตรฐาน H.323
    มาตรฐาน H.323 เป็นมาตรฐานภายใต้ ITU-T (International Telecommunications Union) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานสําหรับการทํา Multimedia Conferencing บนระบบเครือข่าย LAN เป็นหลัก และต่อมาได้ถูกพัฒนาให้ครอบคลุมต่อการทํางานกับเทคโนโลยี VoIP ด้วย
  • มาตรฐาน SIP (SessionInitiation Protocol)
    มาตรฐาน SIP เป็นมาตรฐานใหม่ในการใช้ งานเทคโนโลยี VoIP ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบ IP โดยเฉพาะ เป็นการทำงานภายใต้ IETF Standard ซึ่งถูกออกแบบมาสําหรับการเชื่อมต่อ VoIP เป็นมาตรฐาน Application Layer Control Protocol สําหรับการเริ่มต้น, การปรับเปลี่ยน และการสิ้นสุดของ Session หรือการติดต่อสื่อสารหนึ่งครั้ง มาตรฐาน SIP จะมีสถาปัตยกรรมการทํางานคลายคลึงกับการทํางานแบบ Client-Server Protocol ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มี Reliability ที่ค่อนข้างสูง

การทํางานในรูปแบบของโปรโตคอล IP

 

ระบบของ VoIP 

          ระบบของ VoIP สามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ

  1. Voice Processing module เป็นการสุ่มตัวอย่างสัญญาณเสียงเพื่อส่งผ่านเครือข่าย IP ซอฟต์แวร์นี้โดยทั่วไปทํางานบน DSP (Digital Signal Processing) Voice Processing module จะต้องประกอบด้วยโปรแกรมซึ่งทําหน้าที่ดังตอไปนี้
              1.1 PCM Interface เป็นการรับตัวอยาง (สัญญาณสุ่ม) จาก PCM และส่งต่อให้กับ VoIP Software module ปฏิบัติการต่อ PCM จะทําการสุ่มตัวอยางเฟสอีกครั้งจากตัวอย่างที่เป็นผลลัพธ์ของ analog interface ซึ่งจะมีการทําการบีบอัดเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และทําการแปลงสัญญาณ Analog เพื่อไปเป็น Digital
              1.2 Echo Cancellation Unit เป็นหน่วยกําจัดการสะท้อนของสัญญาณข้อมูลเสียงที่ถูกสุ่มตัวอย่างและรูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบ full duplex ตามมาตรฐานของ ITU G.165 หรือ G.168 echo cancellation
             
    1.3 Voice Activity/Idle Noise Detector มีหน้าที่ระงับการส่ง Packet เมื่อไม่มีสัญญาณเสียง ทําให้ประหยัดแถบความถี่ ถ้าตรวจจับได้ว่าไม่มีกิจกรรมเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ผลลัพธ์ของ voice encoder จะถูกระงับไม่ให้ส่งผ่านเครือข่าย ระดับของเสียงว่างเปล่า (idle noise) จะถูกวัดและแจ้งให้ปลายทางทราบเพื่อที่จะแทรก “comfortable noise” เข้าไปในสายเพื่อไม่ให้คนฟังได้รับสายเงียบในโทรศัพท์
             
    1.4 Tone Detector ทําหน้าที่ตรวจจับการได้รับ DTMF tones (Dial Tone Multi-Frequency) กลุ่มของ Tones ที่ตรงตามมาตรฐาน ใช้ในสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งกําเนิดโดย touch tone pad ใช้ในการแยกสัญญาณว่าเป็นเสียง หรือแฟกซ์
             
    1.5 Tone Generator มีหน้าที่กําเนิด DTMF tones และ call progress tones ภายใต้คําสั่งของระบบปฏิบัติการ
             
    1.6 Facsimile Processing module มีหน้าที่ถ่ายถอดแฟกซ์โดย Stimulate สัญญาณ PCM แยกข่าวสารออกมา และบรรจุข้อมูลที่สแกนแล้วลงใน Packet
             
    1.7 Packet Voice Protocol module มีหน้าที่รวบรวมสัญญาณเสียงที่ถูกบีบอัด และข้อมูลแฟกซ์ เพื่อส่งผ่านเครือข่ายข้อมูล แต่ละ Packet มีลําดับเลข ที่ทําให้ Packet ที่ได้รับถูกส่งเรียงตามลําดับถูกต้อง และสามารถตรวจจับ Packet ที่หายได้
             
    1.8 Voice Play out module ที่ปลายทาง ทําหน้าที่บัฟเฟอร์ Packet ที่ได้รับ และส่งต่อให้กับเครื่องเข้ารหัสเสียง เพื่อเล่นเสียงออกมา
  2. The Call Processing module ทําหน้าที่เป็น signaling gateway ยอมให้มีการสร้าง call ผ่านเครือข่าย Packet ซอฟต์แวร์นี้จะ support สายส่งสัญญาณระหวาง PBX และ CO ใช้ในการจองสาย ส่งต่อ และเลิกสาย จะตรวจจับสัญญาณเรียกใหม่ที่เกิดขึ้น และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่
  1. Packet Processing module เป็นขั้นตอนการบรรจุสัญญาณข้อมูลเสียงลงใน Packet เพิ่ม transport headers ก่อนส่ง Packet ผ่านเครือข่าย IP หรือเครือ Packet อื่นๆ ทำการแปลงข่าวสารของสัญญาณจาก telephony protocol เป็น packet signaling protocol
  1. Network management จะควบคุมการจัดส่งข้อมูลไปให้ถึงปลายทาง สําหรับการสนทนาด้วยเสียงนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งข้อมูลแบบ Real Time แต่สําหรับ TCP/IP นั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำเชํนนั้น เราทําได้เพียงกำหนดนโยบายเพื่อให้ Packet ของ H.323 ผ่าน router แต่ละตัวไปให้เร็วที่สุด

ระบบของ VoIP

 

ลักษณะการทํางานของ VoIP

          สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

  1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC to PC) คือ PC มีการติดตั้ง sound card และไมโครโฟน ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย IP การประยุกต์ใช้ PC และ IP enabled telephones สามารถสือสารกันได้แบบจุดต่อจุด หรือแบบจุดต่อหลายจุดโดยอาศัย software ทางด้าน IP telephony
  1. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปยังโทรศัพท์พื้นฐาน (PC to Phone) คือ การเชื่อมเครือข่ายโทรศัพท์เข้ากับ เครือข่าย IP โดยอาศัย Voice trunks ที่สนับสนุน voice packet ทําให้สามารถใช้ PC ติดต่อกับ โทรศัพท์ระบบปรกติได้
  1. โทรศัพท์กับโทรศัพท์ (Telephony) คือ การใช้โทรศัพท์ธรรมดา ติดต่อกับโทรศัพท์ธรรมดา ประกอบด้วยขั้นตอนการส่งเสียงบนเครือข่ายแพ็กเก็ตประเภทต่างๆ ซึ่งทั้งหมดติดต่อกันระหว่างชุมสายโทรศัพท์ (PSTN) การติดต่อกับ PSTN หรือการใช้โทรศัพท์ร่วมกับเครือข่ายข้อมูลจําเป็นต้องใช้ gateway

 

องค์ประกอบของ VoIP

  1. Software Client หรือ IP Telephony อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการติตตั้งโปรแกรมสื่อสารไอพี หรืออุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบขึ้นมา สําหรับการใช้งานโทรศัพท์ผ่านระบบอินเตอรเน็ตโดยเฉพาะ หรือเครื่องโทรศัพท์แบบไอพี (IP Phone)
  1. Telephony applications เป็น Application ที่สร้าง Value added ให้กับระบบเครือข่าย IP Telephony ที่มีการใช้งานร่วมกันทั้งข้อมูลเสียง และข้อมูลอื่นๆ ตัวอย่างของ Application เหล่านี้ เช่น
    • Unified Messaging เป็น Application ที่รวมการทํางานของ Voice mail, Email และ Fax mail เข้าไว้ด้วยกัน เพื่ออํานวยความสะดวกในการใช้งานของ User
    • Call Center เป็น Application ที่มีไว้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการทราบข้อมูลต่างๆ ติดต่อเข้ามา หรือเพื่ออํานวยความสะดวกการให้บริการอื่นๆ
  1. VoIP Gateway เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่ในการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นข้อมูลเสียงที่สามารถวิ่งอยู่บนเครือข่ายข้อมูลแบบ IP ได้ เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเขากับเครื่องโทรศัพท์ตู้ชุมสายโทรศัพท์กับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างเครือข่ายไอพี ซึ่งการจะใช้งานระบบโทรศัพท์ไอพีต้องอาศัยอุปกรณ์นี้เป็นตัวกลาง โดยสามารถแบ่งชนิดของ gateway ได้ คือ
    • IP-enabled PBX เป็น PBX ที่ใช้รับส่งข้อมูลเสียงผ่านเครือขาย IP network ซึ่ง gateway แบบนี้สามารถใช้คุณลักษณะเดิมของระบบ PBX ได้เช่น Call routing, Trunk selection, Call forwarding to remote worker, และอื่นๆ อีกมากมายบนระบบเครือข่าย PBX
    • Telephony router & access device หรืออุปกรณ์ Switching เป็น gateway เพื่อรองรับการใช้งานข้อมูลเสียง ซึ่งการบริหารความสําคัญ และจัดสรร Bandwidth ให้กับข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเสียงจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น RSVP, Weight Fair Queuing เป็นต้น
  1. Gatekeeper เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบ Internet ใช้เป็นฐานข้อมูลของหมายเลข IP, หมายเลขโทรศัพท์ และบอกทิศทางที่ถูกต้องในการที่จะติดต่อกันระหว่างหมายเลขหนึ่งไปอีกหมายเลขหนึ่ง เป็นตัวกลางที่ใช้บริหารจัดการ รวมถึงควบคุมการให้บริการของ VoIP Gateway กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟท์แวร์สําหรับใช้งาน VoIP หรือเครื่องโทรศัพท์แบบไอพี

Gatekeeper

 

ขั้นตอนการทํางานของ VoIP

  1. เมื่อผู้พูดโทรศัพท์จากเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา หรือพูดผ่านไมโครโฟนที่ถูกต่อเข้ากับการ์ดเสียงของเครื่องคอมพิวเตอร์คลื่นสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกก็จะได้รับการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล จากนั้นจะถูกบีบอัดด้วยตัวถอดรหัสผ่านอุปกรณ์ PBX (Private Box Exchang) หรือ VoIP Gateway
  2. เมื่อผ่าน VoIP Gateway แล้ว ก็จะถูกส่งต่อไปยัง Gatekeeper เพื่อค้นหาเครื่องปลายทางที่จะรับการติดต่อเช่น หมายเลขไอพี , หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น แล้วแปลงเป็นแพ็กเกจข้อมูลส่งออกไปบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งให้กับผู้รับปลายทางต่อไป
  3. เมื่อ Packet ไปถึงด้านปลายทางข้อมูล Header จะถูกแยกออกเพื่อให้เหลือแค่ Voice Frame หลังจากนั้นก็จะทําการแปลงสัญญาณ Digital PCM ให้กลับมาเป็นสัญญาณรูปแบบ Analog ที่เป็นสัญญาณเสียงที่ได้ยินกันอีกครั้งหนึ่ง

 

ปัจจัยที่ทําให้เกิดการใช้ VoIP

  1. โอกาสที่จะติดต่อสื่อสารระห่วางประเทศ โดยผ่านเครือขายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต โดยมีราคาที่ถูกกว่าโครงขายโทรศัพท์ทั่วไป
  2. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยที่สวนหนึ่งถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถใช้งานใน VoIP ทําให้สามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลมากขึ้น
  3. การเป็นที่ยอมรับ และรับเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจําวัน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมากมาย รวมทั้งการเพิ่มจํานวนขึ้นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้ VoIP ได้รับความนิยมในการติดต่อสื่อสาร
  4. มีการใช้ประโยชน์จากระบบ Network ที่มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในปัจจุบัน ให้สามารถใช้งาน ได้ทั้งในการส่งข้อมูล และเสียงเข้าด้วยกัน
  5. ความก้าวหน้าทางด้านการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ช่วยลดต้นทุนในการสร้างเครือข่ายของ VoIP ในขณะที่ความสามารถการให้บริการมีมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาร่วมใน VoIP มากขึ้น
  6. ความต้องการที่จะมีหมายเลขเดียวในการติดต่อสื่อสารทั่วโลก ทั้งด้านเสียง , แฟกซ และข่อมูล ถึงแม้ว่าบุคคลนั้น จะย้ายไปที่ใดก็ตามก็ยังคงสามารถใช้หมายเลขเดิมได้เป็นความต้องการของผู้ใชงาน และธุรกิจ
  7. การเพิ่มขึ้นอย่างมากของการทํารายการต่างๆ บน E-Commerce ในปัจจุบัน ผู้บริโภคต่างก็ต้องการ การบริการที่มีคุณภาพ และมีการโต้ตอบกันได้ระหว่างที่กําลังใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ ซึ่ง VoIP ก็สามารถเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้
  8. การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Wireless Communication ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้ต้องการการติดต่อสื่อสารที่ราคาถูกลง แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ดังนั้นตลาดกลุ่มนี้ถือว่าเป็นโอกาสของ VoIP

 

คุณสมบัติสําคัญของ VoIP เมื่อเทียบกับระบบโทรศัพท์แบบเดิม

  • ระบบโทรศัพท์แบบเดิม ระบบโทรศัพท์แบบเดิมที่ใช้งานผ่านตู้สาขา (PBX) ช่วยให้องค์กรสามารถใช้คู่สายโทรศัพท์ที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแจกจ่ายเบอร์ต่อให้กับผู้ใช้งานได้มากกว่าคู่สายจริงเปรียบเสมือนการแบ่งใช้คู่สายโทรศัพท์โดยมี PBX เป็นตัวจัดการ โดยมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ของระบบโทรศัพท์ คือ โอนสาย และวอยซ์เมล
  • ระบบโทรศัพท์แบบ VoIP ระบบ VoIP เป็นเสมือนชุดแอพพลิเคชั่นสําหรับการติดต่อสื่อสารด้วยสียงผ่านเครือข่ายข้อมูลแบบ IP โดยระบบมีคุณสมบัติของระบบฝากข้อความ ระบบอิเล็กทรอนิกเมล และระบบแฟกซ์ไว้ด้วยกัน โดยมีคุณสมบัติการทํางาน ดังนี้
  1. สามารถโอนสายไปยังโทรศัพท์เครื่องอื่น หรือระบบวอยซ์เมลอัตโนมัติในกรณีไม่มีผู้รับสาย
  2. สามารถตั้งลําดับการรับสายได้ เชน เริ่มจากเครื่อง IP Phone ที่โต๊ะทํางาน,โทรศัพท์มือถือและเบอร์ที่บ้าน หากไม่มีการรับสายก็สามารถส้ง Massage ไปยัง E-Mail หรือโทรศัพท์มือถือได้
  3. สามารถแสดงเบอร์โทรศัพท์ หรือ IP Address เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร ให้ผู้รับสายมองเห็นเบอร์ของคู่สนทนาได้
  4. สามารถใช้งานโทรศัพท์ผ่านทางเครื่อง IP Phone หรือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  5. สามารถตรวจข้อความ E-Mail, Voice Mail, Fax ผ่านแอพพลิเคชั่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์
  6. สามารถรับ-ส่งแฟกซ์ผ่านเครื่องแฟกซ์ หรือแอพพลิเคชั่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ในการใช้งาน Voice over IP

ข้อดีและข้อจํากัดของเทคโนโลยี VoIP

ข้อดีของการนําเทคโนโลยี VoIP

  1. สามารถนํามาประยุกต์ใช้ กับระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น อุปกรณ์ Router หรือ Switch ทําให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เนื่องจากสามารถนําอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้งานได้ ซึ่งถือเป็นการนําอุปกรณ์เดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และถ้าหากมีการนําเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้ งานในลักษณะการสื่อสารระยะทางไกล เช่น ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ก็จะทําให้สามารถประหยัดค่าบริการทางไกลของระบบโทรศัพท์แบบปกติได้อีกด้วย
  2. องค์กรที่นําเทคโนโลยี VoIP ไปใช้งานเพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสาขาที่อยู่ในระยะทางไกลกันนั้น จะทําให้องค์กรได้ประโยชน์ในแง่ของข้อมูลข่าวสารต่างๆ ระหว่างองค์กรมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข่าวสารกันระหว่างสาขาขององค์กรมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายของการสื่อสารทางไกลอีกต่อไป ทําให้แต่ละสาขาได้รับข่าวสารข้อมูลล่าสุดขององค้กรอย่างทันทวงที และไม่ต้องมีการรอ ซึ่งอาจทำให้เกิดการล่าช้าในการปฏิบัติงาน และการบริการ
  3. สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญที่มีการนําเทคโนโลยี VoIP นี้มาใช้งาน รวมทั้งการที่สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรที่จะมาดูแลในเรื่องของการให้บริการทางโทรศัพท์ได้อีกด้วย เพราะสามารถใช้คนเดียวเพื่อให้บริการลูกค้าผ่านระบบโทรศัพท์กลางขององค์กร และเชื่อมต่อไปยังสาขาต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี VoIP

ข้อจํากัดของ VoIP

  1. ความน่าเชื่อถือได้ของ VoIP ยังต้องมีการพิสูจน์ และถือว่าเป็นข้อจํากัดที่สําคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ด้อยกว่าโครงข่ายชุมสายโทรศัพท์ในปัจจุบัน
  2. ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ซึ่งทําให้มีปัญหาในการพัฒนา
  3. การลงทุนที่จะเปลี่ยน มาเป็นระบบ VoIP ยังคงมีราคาที่สูงอยู่ ซึ่งก็คือค่าใช้จ่ายใน Port ของ IP และอุปกรณ์สําหรับระบบ VoIP เมื่อเทียบเคียงกับโครงขายชุมสายโทรศัพท์
  4. IP Telephony สามารถเติบโตได้มากกว่า เนื่องจากอัตราของราคาที่ต่ํากว่าเมื่อเทียบกับโครงข่ายชุมสายโทรศัพท์ ดังนั้นหากโครงข่ายชุมสายโทรศัพท์ลดราคาลงมาก็ทําให้ VoIP ไม่ได้เปรียบอีกต่อไป
  5. ในการที่จะเปลี่ยนระบบจาก PSTN มาเป็น VoIP นั้น จําเป็นที่จะต้องอาศัยผู้จําหน่ายอุปกรณ์และผู้ติดตั้งระบบ VoIP ที่มีความรู้ความชํานาญมากเพียงพอที่จะสนับสนุนระบบได้
  6. การขาดมาตรฐานของอุปกรณ์โครงข่าย ทําให้การเจริญเติบโตไม่เร็วเท่าที่ควร เพราะไม่อาจตัดสินใจได้วาจะเลือกอุปกรณ์ของค่ายใดที่สามารถรองรับการทํางานได้ดีที่สุด

ข้อดีและข้อจํากัดของเทคโนโลยี VoIP

 

การประยุกต์ใช้ VoIP ในองค์กร

          การใช้งานเทคโนโลยี VoIP ทุกองค์กรสามารถนําเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้งานได้แต่สําหรับกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะไดรับประโยชน์จากการนําเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งาน ได้แก่

          กลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ SME (Small/Medium Enterprise) และกลุ่ม ISP (Internet Service Provider) ต่างๆ ในกลุ่มธุรกิจ SME อาจจะต้องเป็นกลุ่มที่มีระบบเครือข่ายข้อมูลของตนเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย Leased Line, Frame Relay, ISDN หรือแม้กระทั่งเครือข่าย E1/T1 ก็ตาม รวมถึงมีระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในการใช้งานด้วย การนําเทคโนโลยี VoIP มาใช้งานนั้นจะทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานการสื่อสารสัญญาณเสียงไปได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างจังหวัด หรือรวมถึงค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศด้วย แต่การที่องค็กรใดจะนําเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ ใช้งานนั้น ก็ตองขึ้นอยู่กับจำนวนการใช้งานสัญญาณเสียงผ่านระบบโทรศัพท์ด้วย ว่ามีการใช้งานมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่าแกการลงทุนในการพัฒนานําเทคโนโลยี VoIP มาใช้หรือไม่

          ส่วนกลุ่มธุรกิจ ISP นั้นสามารถที่จะนําเทคโนโลยี VoIP นี้มาประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในธุรกิจของตนเองให้มากยิ่งขึ้น โดยทาง ISP ต่างๆ นั้นสามารถให้บริการ VoIP เพื่อเป็นบริการเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากการให้บริการระบบเครือขาย Internet แบบปกติธรรมดา หรือที่เรียกวา Value Added Services ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความแตกต่าง และเพิ่มทางเลือกในการให้บริการกับกลุ่มลูกค้าด้วย

          และนอกจากกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มนี้ที่น่าจะไดรับประโยชน์จากการนําเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้แล้ว ยังมีองค์กรอื่นๆอีกที่ได้รับประโยชน์จากการนําเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งานในองค์กร เช่น ผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคม และองค์กรที่มีการสื่อสารระหว่างสํานักงาน เป็นต้น

 

การใช้งาน VoIP แบบส่วนบุคคล (โทรศัพท์บ้าน)

          ถ้าเป็นระบบโทรศัพท์ VoIP ในบ้าน ความจริงจะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ และคนทั่วไปยังใช้เป็นโทรศัพท์แบบ Analog กันอยู่ เหตุผลเพราะว่า ยุคสมัยของเทคโนโลยีเติบโตไวเกินไป โดเฉพาะการมาของสมาร์ทโฟน ที่ทำให้ไม่มีใครมาสนใจว่าโทรศัพท์บ้านจะโทรออกได้ถูก หรือแพงแค่ไหน ซึ่งถ้าต้องการจะใช้งาน VoIP กับโทรศัพท์บ้าน ก็จะมีขั้นตอนดังนี้

  1. ติดตั้งอินเทอร์เน็ตบ้าน
  2. เลือกซื้อ IP Phone หรือ VoIP Adapter 
  3. ค้นหาผู้ให้บริการ VoIP โดยจะใช้ของผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ได้
  4. เปิดใช้งานระบบ และติดตั้งอุปกรณ์

          หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้าเราเปลี่ยนโทรศัพท์บ้านให้โทรผ่านเน็ตได้แล้ว จะติดต่อกับโทรศัพท์ที่เป็นอนาล็อกได้ไหม คำตอบก็คือได้ไม่มีปัญหา เช่นเดียวกันกับในทางตรงข้าม ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่าคู่สายจะมี VoIP เหมือนเราหรือไม่ อันที่จริงเบอร์โทรสำนักงานต่างๆ หรือระบบ Call Center ของหลายองค์กรในปัจจุบัน ก็มีการใช้ระบบ VoIP ติดต่อกับลูกค้าภายนอก ที่เป็นทั้ง 2 แบบได้อยู่แล้ว

 

การใช้งาน VoIP ในระดับธุรกิจ

          ถ้าหากพูดในระดับธุรกิจ ระบบ VoIP นั้นค่อนข้างได้รับความนิยมมากแตกต่างจากการใช้งานส่วนบุคคล หนึ่งเพราะต้นทุนในการใช้โทรศัพท์ของแต่ละองค์กรนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูง ระบบ VoIP เป็นตัวช่วยส่วนหนึ่งที่จะลดต้นทุนได้ โดยไม่ต้องเดินสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ช่วยประหยัดค่าโทร และสามารถปรับแต่งคุณสมบัติขั้นสูงที่เพิ่มความยืดยุ่นในระบบโทรศัพท์ขององค์กร เช่น ระบบ Softphone ที่มักจะเป็นฟีเจอร์พ่วงมากับระบบโทรศัพท์แบบ VoIP ทำให้คุณสามารถรับการติดต่อจากโทรศัพท์ตั้งโต๊ะบนมือถือได้ เป็นต้น

          การใช้งาน VoIP ในระดับธุรกิจจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ On-Premise Software และ Hosted Software (แบบคลาวด์) 

  • On-Premise Software คือการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน และวางระบบซอฟต์แวร์ VoIP ภายในสำนักงาน หากคุณเป็นองค์กรใหญ่ อาจเลือกใช้วิธีนี้ เนื่องจากสามารถจัดระบบความปลอดภัย และระบบที่ต้องการด้วยตัวเองได้ แต่ก็ต้องมีการดูแลเซิร์ฟเวอร์ และจัดการค่าบำรุงรักษาเอง
  • Hosted Software คือการใช้ระบบ VoIP บนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ VoIP เหมาะกับองค์กรขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องการลงทุนในฮาร์ดแวร์เอง ยุคใหม่ของ VoIP 

 

          อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสรุปว่า VoIP นั้นใช้ทดแทนในระบบโทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์องค์กรเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว VoIP นั้นอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด ถ้าคุณเปิดเข้าไปใน แอปพลิเคชัน LINE หรือแอป Facebook Messenger แล้วกดโทรหาผู้ติดต่อผ่าน Account นั่นก็คือระบบ VoIP ที่ผู้พัฒนาได้ใส่เข้ามาบนแอปพลิเคชัน ทำให้เราสามารถโทรคุยด้วยเสียงผ่านซอฟต์แวร์ของเขาได้ นอกจากนี้ตัว LINE เองยังมีฟีเจอร์หนึ่งที่เรียก LINE Out หากคุณเติมเงิน (Call Credit) ลงไปคุณสามารถใช้ LINE ในการโทรหาผู้ติดต่อแบบทางไกลไปต่างประเทศ ด้วยเบอร์โทรศัพท์พื้นฐานได้ด้วย สิ่งนี้ก็คือระบบ VoIP เหมือนกัน 

          นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่เราใช้กันอีกมากที่ใช้งานระบบ VoIP ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอ (Meeting Video Conference) , เกมออนไลน์ และโปรแกรม Skype ซึ่งต้องบอกว่าจริงๆแล้ว Skype ถือเป็นบริการ VoIP แรกเลยที่เปิดให้เราสามารถใช้งานได้ฟรี ๆ บนแพลตฟอร์มของเขา จะเห็นว่านวัตกรรม VoIP นั้นไม่ได้อยู่แค่ในกรอบของคำว่าระบบโทรศัพท์ แต่มันถูกพัฒนาขึ้นมาแตกย่อยไปใช้ประโยชน์ในเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกหลายอย่างเลยทีเดียว

          และถ้ากำลังมองหาอุปกรณ์การทำระบบ VOIP คุณภาพสูงสำหรับใช้งาน คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรายละเอียดอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาฟรีๆ ได้ที่  

Success Network and Communication

Tel : 02-973-1966

Admin : 063-239-3569

E-mail : info@success-network.co.th 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *