NAS คือ

Network Storage (NAS) คืออะไร ช่วยแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลของคุณได้อย่างไร

          โดยปกติแล้ว ในการใช้งาน Hard disk การแชร์และส่งไฟล์ต่อไปให้คนอื่นนั้น จะต้องใช้การส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมทั้งอัพโหลดขึ้น Cloud หรือวิธีที่คุ้นเคยคือการใช้ USB Thume Drive ในการส่งไฟล์ให้กัน ซึ่งปัญหาที่พบก็อาจจะเป็นขนาดของไฟล์ใหญ่เกินไป หรือติดไวรัสที่ทำให้ไฟล์และงานต่าง ๆ เสียหายได้

Network Attached Storage หรือ ที่เรียกย่อ ๆ ว่า NAS คือ ตัวช่วยที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหานี้ โดยเป็นอุปกรณ์ที่มี Hard Drive ในตัวสำหรับให้คนในบ้านหรือคนในออฟฟิศเดียวกัน สามารถส่งไฟล์ แชร์ไฟล์ หรือสำรองไฟล์กันได้

Network Storage (NAS) คือ

          NAS ย่อมาจากคำว่า  Network Attached Storage เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดเก็บข้อมูล ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ External hard disk ซึ่งมีการเก็บข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากกว่านั้น คือ ใช้เก็บข้อมูลระบบเครือข่าย โดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สำนักงานหรือบ้าน สามารถจัดเก็บไฟล์งานต่าง ๆ ตั้งแต่ไฟล์เอกสาร ภาพถ่าย ไฟล์เพลง และไฟล์วิดีโอ 

          ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์และใช้บริการต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการใช้เว็บเบราเซอร์หรือแอปมือถือ

          ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้ระบบของตัว NAS มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านระบบปฏิบัติการ NAS OS และ Hardware อีกทั้งบางรุ่นนั้นได้มี Application รองรับ สามารถติดตั้งและใช้งานได้อย่างสะดวก เหมาะสมกับการใช้งานทั้งธุรกิจระดับเล็กไปจนถึงระดับองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise)

 

ความสำคัญของ NAS

          องค์กรและธุรกิจขนาดเล็กในหลายอุตสาหกรรมต่างเลือกใช้โซลูชัน NAS เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ปรับขนาดได้ และต้นทุนต่ำ โดยเซิร์ฟเวอร์ไฟล์ NAS ให้การเข้าถึงข้อมูลไ้ด้เร็วกว่า และสามารถกำหนดค่าและจัดการได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ประเภทอื่น ๆ ซึ่งสามารถรองรับแอพพลิเคชันทางธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงอีเมล์ส่วนตัว ฐานข้อมูลการบัญชี บัญชีเงินเดือน การบันทึกและตัดต่อวิดีโอ การบันทึกข้อมูล และการวิเคราะห์ธุรกิจ 

          โดยประโยชน์บางส่วนของ NAS ได้แก่

  • การปรับใช้ระบบคลาวด์ส่วนตัวสำหรับองค์กร
         ระบบคลาวด์ส่วนตัว คือ ระบบคลาวด์ที่โฮสต์ทรัพยากรจากศูนย์ข้อมูลขององค์กรของตนเอง ซึ่งอาจใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ภายในหรือโครงสร้างพื้นฐานแยกต่างหากที่จัดหาโดยบริษัทภายนอก โดยคุณสามารถใช้อุปกรณ์ NAS เพื่อปรับใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ส่วนตัวได้ในองค์กรของคุณ
  • โซลูชันการจัดเก็บข้อมูลในระบบที่ยืดหยุ่นสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
         ระบบ NAS สามารถปรับแต่งได้ตามขนาดและความต้องการขององค์กร โดยมีทั้งอุปกรณ์ราคาถูกที่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลน้อยและอุปกรณ์ระดับไฮเอนด์ที่มีราคาแพงกว่าวางจำหน่ายในท้องตลาด

จุดเด่นของ Network Storage

          ถึงแม้ว่าการทำงานของ NAS จะมีความคล้ายกับการทำงานของฮาร์ทดิสก์ อีกทั้งบางส่วนมีความคล้ายการทำงานของระบบ  Cloud ในส่วนนี้จะขอชี้จุดเด่นให้เห็นชัดเจนมากขึ้นดังนี้

  1. เป็นจุดศูนย์รวมข้อมูลที่เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึง เมื่อข้อมูลมีปริมาณมากขึ้นทุกวัน จากทั้งเราและสมาชิกคนอื่น ๆ แทนที่จะต้องไปอัปเกรดคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือทำการย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง เราใช้การเก็บข้อมูลบนเครื่อง NAS ไปเลยทีเดียวจะสะดวกกว่ามาก ประหยัดพื้นที่ในคอมและยังช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกด้วย เพราะ NAS สามารถสั่งการทำงานผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือได้ด้วย
  2. เก็บข้อมูลได้มิดชิดและปลอดภัยกว่า Cloud หลายคนอาจจะรู้สึกว่า สิ่งที่ NAS ทำได้ ระบบ Cloud ก็ทำได้เหมือนกัน แต่การเก็บข้อมูลต่าง ๆ บน Cloud นั้นถ้าต้องการพื้นที่เก็บมาก ๆ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ถือว่าค่อนข้างสูงและที่สำคัญระบบ Cloud เป็นการเก็บไฟล์ไว้ให้คนอื่นดูแล ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลจะน้อยกว่าการเก็บบน NAS แน่นอน

องค์ประกอบของอุปกรณ์ NAS มีอะไรบ้าง

  1. ไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลจริง
              โดยอุปกรณ์ NAS สามารถมีฮาร์ดไดร์ฟได้ถึง 2 ถึง 5 ตัว 1-2 ลูก สำหรับการใช้งานระดับเล็ก, 4-8 ลูก สำหรับการใช้งานระดับกลาง, 100 ลูก สำหรับการใช้งานระดับใหญ่, 100 ลูกขึ้นไป สำหรับการใช้งานระดับใหญ่มาก ซึ่งทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลในปริมาณมาก โดยจะมีการจัดเรียงไดร์ฟจัดเก็บข้อมูลจริงหลายตัว ตามตรรกะเป็นคอนเทนเนอร์จัดเก็บข้อมูลสำรอง (RAID) ทั้งนี้ RAID เป็นเทคโนโลยีการจำลองเสมือนที่รวมองค์ประกอบของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจริงหลายตัวเข้าด้วยกันเป็นตรรกะหนึ่งหน่วยขึ้นไป ซึ่งจะช่วยสำรองข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
  2. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
              อุปกรณ์ NAS มี CPU ที่มีระบบอัจฉริยะในการประมวลผลและขุมพลังในการจัดการระบบไฟล์ โดย CPU จะอ่านและเขียนข้อมูลเพื่อประมวลผลและให้บริการไฟล์จัดการผู้ใช้หลายราย และบูรณาการร่วมกับระบบคลาวด์ได้หากต้องการ
  3. ระบบปฏิบัติการ
              ระบบปฏิบัติการ คือ ส่วนติดต่อแบบซอฟต์แวร์ระหว่างฮาร์ดแวร์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและผู้ใช้ แม้ว่าอุปกรณ์พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ซับซ้อนจะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของตัวเอง แต่อุปกรณ์บางรุ่นที่ไม่ได้ซับซ้อนมาก อาจจะไม่มีระบบปฏิบัติการเลย
  4. ส่วนติดต่อระบบเครือข่าย
              อุปกรณ์ NAS เชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยใช้ส่วนติดต่อระบบเครือข่าย สามารถดำเนินการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ผ่านสายอีเทอร์เน็ตหรือ Wi-Fi นอกจากนี้อุปกรณ์ NAS จำนวนมากยังมีพอร์ต USB สำหรับการชาร์จหรือเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น ๆ กับอุปกรณ์ NAS อีกด้วย

หลักการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของ NAS

          NAS จะทำหน้าที่เหมือนกับเป็น File Server มีการเข้าถึงการทำงานบน Server โดยใช้ Client หรือ Workstation ผ่านทาง Network Protocal เช่น TCP/IP และผ่านทางโปรแกรม เช่น NFS (Network File System), CIFS (Common Internet File System) ทำให้ Client ที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเน็ตเวิร์ก สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ โดยโครงสร้างของ NAS เน้นการให้บริการด้านไฟล์ จึงทำให้ช่วยเรื่องการจัดการไฟล์ต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ NAS ยังสามารถติดตั้งโปรแกรมให้ แบ็คอัพ Directory หรือ Hard disk ของ Client ได้อัตโนมัติช่วยสำรองข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงข้อมูลสูญหาย

 

NAS ทำงานอย่างไร

          NAS เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่มีระบบปฏิบัติการของตนเอง มีช่องสำหรับให้ผู้ใช้นำเอา ฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ (HDD) หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SDD มาเสียบได้ โดย NAS ขนาดเล็ก อาจจะรองรับ SDD ได้ 3-5 ตัว แต่ถ้าเป็น NAS ขนาดใหญ่ ก็จะสามารถติดตั้งได้มากกว่านั้น ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดจะมีการทำการ RAID เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล แม้เราจะสามารถนำฮาร์ดไดร์ฟแบบไหนมาติดตั้งใน NAS ก็ได้ แต่ก็ควรจะเลือก ฮาร์ดดิสก์รุ่นที่ผู้ผลิตทำมาสำหรับ NAS โดยเฉพาะ เนื่องจาก NAS ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา 

          NAS ทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมี CPU สำหรับประมวลผลในตัวและมีระบบปฏิบัติการของตัวเอง เพื่อทำหน้าที่ในการจัดเก็บไฟล์ ควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล และดูแลสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ของผู้ใช้งาน

          ในการเชื่อมต่อ  NAS เข้ากับระบบเครือข่ายสามารถทำได้ทั้งผ่าน สายอีเทอร์เน็ต (หรือสาย LAN) หรือ Wi-Fi ได้เช่นกัน 

 

ประโยชน์ของ NAS

          ประโยชน์โดยทั่วไปของ NAS Storage มีดังนี้

  • สามารถสร้าง folder ส่วนตัวสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน ให้แต่ละคนสามารถใช้งานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ของตนเอง โดยกำหนดพื้นที่สูงสุดสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนได้
  • สามารถสร้าง Folder แชร์สำหรับกลุ่มผู้ใช้งาน จำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึง สร้าง และอ่านไฟล์ ที่แตกต่างกันตามฟังก์ชันการทำงานได้
  • สามารถสร้างเป็น Shared folder หรือ Drive ทิ้งไว้ในเครื่องของผู้ใช้งานได้ทันที ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน

          โดยสำหรับองค์กร หรือการใช้งานที่มีความซ้ำซ้อนมากขึ้น NAS Storage มีความสามารถอื่น ๆ เพิ่มเติมดังนี้

  • สามารถทำ Deduplication ช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ซ้ำซ้อนได้
  • สามรถทำการ Scan Virus ไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ภายใน NAS Storage ได้
  • สามารถทำการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลสำหรับไฟล์ที่สำคัญได้ 
  • สามารถรองรับการใช้งานร่วมกับ Server เป็นหมื่นหรือล้านเครื่องได้

Network Storage ใช้จัดเก็บข้อมูลให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

ข้อจำกัดของ NAS

          ในการใช้งาน NAS จะต้องซื้อ License สำหรับ Windows โดยระบบ File sharing ของ Windows แบบ Professional นั้นจำกัดไว้ที่ 10 Session เท่านั้น หากต้องการใช้ระบบ RAID เพื่อเพิ่มความเร็วและเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล ต้องลงทุนกับ RAID Card ที่มีคุณภาพ 

          ในการใช้งานสำหรับ Video Editor ที่ต้องการพื้นที่จัดเก็บไฟล์มากกว่าอาชีพอื่น การนำ NAS มาใช้ Library เพื่อตัดต่อนั้นทำไม่ได้ อ้างอิงจาก Final Cut Pro X ไม่อนุญาตให้ทำเนื่องจาก Network ผ่าน LAN ไม่เร็วและไม่เสถียรเพียงพอ สำหรับการตัดต่อวิดีโอ NAS เป็นได้เพียงที่จัดเก็บไฟล์ แต่ไม่สามารถตัดต่อบน NAS ทันที

          NAS ต้องพึ่งพาไฟฟ้าและสัญญาณอินเตอร์เน็ต หากไฟและอินเตอร์เน็ตของเราดับไฟ NAS ก็จะ Offline ไปด้วย ซึ่งหากเราต้องการ Back up NAS จะต้องซื้อบริการเสริมจากผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมีความยุ่งยากสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

 

          Network Attached Storage หรือ NAS คือช่วยจัดเก็บข้อมูล ทำงานได้ด้วยตัวเอง ประมวลผลในตัวและมีระบบปฏิบัติการของตัวเอง เพื่อทำหน้าที่ในการจัดเก็บไฟล์ ควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล และดูแลสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ของผู้ใช้งาน สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้าน องค์กรขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่

          โดยเซิร์ฟเวอร์ไฟล์ NAS ให้การเข้าถึงข้อมูลไ้ด้เร็วกว่า และสามารถกำหนดค่าและจัดการได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ประเภทอื่น ๆ ซึ่งสามารถรองรับแอพพลิเคชันทางธุรกิจต่าง ๆ

ติดต่อเราเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาฟรีๆ ได้ที่

Success Network and Communication
Tel : 02-973-1966
Admin : 063-239-3569
E-mail : info@success-network.co.th

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *